INPS Japan
HomeLanguageThaiการประชุมนครรัฐวาติกันเน้นย้ำแก่นสำคัญระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืนและการห้ามการใช้งานอาวุธนิวเคลียร์

การประชุมนครรัฐวาติกันเน้นย้ำแก่นสำคัญระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืนและการห้ามการใช้งานอาวุธนิวเคลียร์

โดย Ramesh Jaura

นครรัฐวาติกัน (IDN) – เมื่อกลุ่มผู้นำของโลกได้กำหนดให้ ‘การปฏิรูปโลกของเรา: วาระแห่งปี 2030 สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน‘ เป็นเอกสารแสดงถึงผลลัพธ์ของการประชุมองค์การสหประชาชาติสำหรับการปรับใช้การพัฒนาหลังปี-2015 เมื่อสองปีที่แล้ว พวกเขากำหนดให้เอกสารนี้เป็น “แผนดำเนินการสำหรับประชาชน โลกและความมั่งคั่ง” ที่ “มุ่งหวังในการเสริมสร้างสันติภาพสากลเพื่ออิสรภาพที่มากยิ่งขึ้น”

เอกสารซึ่งประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และ 169 เป้าหมายนั้นอยู่บนพื้นฐานของเอกฉันท์ที่มาจากการหารือเป็นเวลานานภายในกลุ่มทำงานเชิงเปิด อีกทั้งระมัดระวังในการหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์เช่น “โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์”

อย่างไรก็ตาม มติที่ได้รับการรับรองโดยสมัชชานั้นประกอบไปด้วยปฏิญญาซึ่งอธิบายถึง “ความเชื่อมโยงและธรรมชาติแบบบูรณาการ” ของ SDGs: “หากไม่มีสันติภาพและความมั่นคงแล้ว เราจะไม่สามารถรับการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เลย และสันติภาพและความมั่นคงนั้นจะตกอยู่ในความเสี่ยงหากปราศจากการพัฒนาที่ยั่งยืน” แก่นสำคัญของสันติภาพ ความมั่นคงและการพัฒนาได้ถูกเน้นย้ำโดยการประชุมที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของ UN และสหภาพแอฟริกาเมื่อ 28-29 กันยายน 2017

แก่นสำคัญนี้ได้รับการเน้นย้ำอย่างหนักแน่นโดยการประชุมนานาชาติซึ่งจัดโดยหน่วยงานวาติกันสำหรับการส่งเสริมการพัฒนามนุษย์เชิงรวมเมื่อ 10-11 พฤศจิกายน พร้อมความมุ่งหวังถึงโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์และสำหรับการปลอดอาวุธอย่างสิ้นเชิง

ในแถลงการณ์ของวาติกัน พระราชาคณะ Peter Turkson เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน กล่าวว่ากิจกรรมนี้ “ตอบสนองถึงลำดับความสำคัญของ Pope Francis ในการลงมือต่อสันติภาพของโลกและเพื่อใช้ทรัพยากรการสร้างเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับทุกคน บุคคลและประเทศโดยไม่มีการแบ่งแยก”

หน่วยงานได้เชิญผู้นำทางศาสนาและตัวแทนของประชาสังคม เจ้าหน้าที่ของรัฐและองค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการที่โดดเด่นและผู้ได้รับรางวัลโนเบลและนักเรียนมาเข้าร่วมเพื่อเน้นย้ำความเชื่อมโยงของการลดอาวุธอย่างสิ้นเชิงและเพื่อค้นหาความเชื่อมต่อระหว่างการพัฒนา การลดอาวุธและสันติภาพ ในการทำเช่นนั้น หน่วยงานได้ดำเนินการตามคติพจน์สูงสุดของสมเด็จพระสันตะปาปา Francis: “ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกัน”

ในขณะที่เกาหลีเหนือและสหรัฐอเมริกายังคงเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านนิวเคลียร์ สมเด็จพระสันตะปาปา Francis ได้กล่าวกับผู้เข้าร่วมในวันที่ 10 พฤศจิกายนว่า ความมุ่งหวังต่อโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์อาจ “ดูเหมือนว่าไกลออกไปอีก” “เมื่อพิจารณาถึงความท้าทายด้านการเมืองที่ซับซ้อนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในปัจจุบัน ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในการขาดเสถียรภาพและการเกิดความขัดแย้ง”

“แน่นอนว่า การเพิ่มระดับการแข่งขันด้านอาวุธจะยังดำเนินต่อไปอย่างไม่ลดถอย ราคาของการพัฒนาและทำให้อาวุธทันสมัย โดยไม่ใช่เพียงอาวุธนิวเคลียร์นั้นสร้างค่าใช้จ่ายจำนวนมากให้กับประเทศ

“ด้วยเหตุนี้ ลำดับความสำคัญที่แท้จริงที่มีต่อมนุษยชาติ เช่น การต่อสู้กับความยากจน การเสริมสร้างสันติภาพ การดำเนินการในโครงการการศึกษา นิเวศวิทยาและสาธารณสุข และการพัฒนาสิทธิมนุษยชนต่างถูกลดความสำคัญไปเป็นอันดับที่สอง” พระสันตะปาปากล่าวโดยเน้นย้ำถึงแก่นของสันติภาพ ความมั่นคงและการพัฒนา

อาวุธนิวเคลียร์แสดงให้เห็นถึง “แนวคิดของความกลัว” ท่านกล่าว โดยยังเน้นย้ำถึงความพยายามที่ได้ผลและครอบคลุมซึ่งสามารถนำไปสู่การลดอาวุธในคลังแสงได้ “เราไม่ควรผูกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้กับกองทัพ การข่มขู่ต่อกันและกัน และการเสริมสร้างคลังอาวุธ” พระสันตปาปากล่าวต่อ “อาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาวุธนิวเคลียร์ ไม่ได้สร้างสิ่งใดเลยนอกจากความรู้สึกผิด ๆ ในด้านความมั่นคง มันไม่สามารถเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพระหว่างสมาชิกในมนุษยชาติ ซึ่งควรเกิดจากจริยธรรมแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันต่างหาก”

ในบริบทนี้ ท่านได้อ้างอิงถึง Hibakusha ผู้รอดชีวิตจากการระเบิดฮิโระชิมะและนะงะซะกิ รวมถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออื่น ๆ ของการทดลองนิวเคลียร์ เช่น การทดลองบนหมู่เกาะมาร์แชลล์

สมเด็จพระสันตะปาปาเสียใจที่เทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้เผยแพร่ ทั้งทางการสื่อสารออนไลน์และเครื่องมือด้านกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ห้ามไม่ให้รัฐใหม่ ๆ เข้าร่วมกับรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์อยู่แล้ว “สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งน่ารบกวนใจอย่างยิ่งหากเราพิจารณาถึงความท้าทายของภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัย เช่น การก่อการร้ายหรือการทำสงครามที่ไม่สมดุล” ท่านกล่าว

ในเวลาเดียวกัน การมองโลกด้วยความเป็นจริงในแง่ดียังคงส่องแสงแห่งความหวังในโลกที่ควบคุมไม่ได้ของเรา” ในบริบทนี้ ท่านอ้างอิงถึง สนธิสัญญาเกี่ยวกับการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ (TPNW) ซึ่งเป็น “ผลลัพธ์หลักของ ‘แนวคิดริเริ่มด้านมนุษยธรรม’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยความสัมพันธ์ระหว่างประชาสังคม รัฐ หน่วยงานระหว่างประเทศและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

การประชุมวาติกันเป็นการประชุมระดับโลกแรกในด้านการลดอาวุธตั้งแต่ 122 ประเทศลงนามในสนธิสัญญาของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมสำหรับการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง นครรัฐวาติกันเป็นหนึ่งในสามผู้ลงนามซึ่งได้ให้สัตยาบันต่อข้อตกลง ไม่มีรัฐที่ถือครองนิวเคลียร์หรือสมาชิก NATO ได้ลงนามในสนธิสัญญานี้

พระราชาคณะ Turkson กล่าวเปิดงานว่า แม้ความต้องการต่อสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพเป็นหนึ่งในสิ่งที่หัวใจของมนุษย์ต้องการอย่างลึกซึ้งที่สุด” และเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าผู้คนที่ถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัวต้องการความปลอดภัยและความมั่นคงที่มากยิ่งขึ้น” แต่วิธีการตอบสนองต่อความต้องการเช่นนั้นไม่ควรทำผ่านการสะสมอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูงโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ใช่ผ่านทางอาวุธนิวเคลียร์ “การกระทำเช่นนี้ไม่เพียงเพิ่มปัญหาด้านความมั่นคง แต่ยังลดความสามารถด้านการเงินของประเทศในการลงทุนกับสิ่งที่เอื้อต่อสันติภาพในระยะยาว เช่น สุขภาพ การสร้างงานหรือการดูแลสิ่งแวดล้อม”

ท่านย้อนนึกถึงประเทศต่าง ๆ ในโลกที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้รับการแก้ไขในกฎบัตรของสหประชาชาติ “เพื่อส่งเสริมการสร้างและการรักษาสันติภาพในระดับนานาชาติและความมั่นคงโดยปรับการติดอาวุธต่อทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจของโลกให้น้อยที่สุด” (มาตรา 26)

พระราชาคณะ Turkson ยังดึงความสนใจไปยังการวิเคราะห์ที่น่าสะพรึงกลัวของค่าใช้จ่ายด้านการทหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดไวต์ ไอเซนฮาวร์ นายพลระดับห้าดาวของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งกล่าวในสุนทรพจน์ “โอกาสสำหรับสันติภาพ” ของเขาในปี 1953 ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลินว่า: “ปืนทุกกระบอกที่สร้างขึ้นมา เรือรบทุกลำ จรวดทุกลูกที่ยิงออกไป ในท้ายที่สุดแล้วต่างหมายถึงการขโมยจากผู้ที่หิวโหยและไม่ได้ทานอาหาร ผู้ที่หนาวเหน็บและไม่มีเสื้อผ้าใส่ โลกแห่งอาวุธไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้เงินอย่างเดียว มันคือการใช้หยาดเหงื่อของแรงงาน อัจฉริยภาพของนักวิทยาศาสตร์ ความหวังของลูกหลานของเรา

“ค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักสมัยใหม่หนึ่งลำเท่ากับ: โรงเรียนที่สร้างด้วยอิฐสมัยใหม่ในมากกว่า 30 เมืองหรือโรงงานไฟฟ้าสองแห่ง โดยแต่ละแห่งสามารถรองรับเมืองที่มีประชากร 60,000 คนหรือโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือเพียบพร้อมสองแห่ง มันเท่ากับการสร้างถนนคอนกรีตระยะทางห้าสิบไมล์ เราจ่ายเงินสำหรับเครื่องบินรบหนึ่งลำด้วยข้าวสาลีจำนวนห้าแสนบุชเชล เราจ่ายเงินสำหรับเรือรบหนึ่งลำด้วยบ้านใหม่ที่ผู้คน 8,000 คนสามารถอยู่อาศัยได้… ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งนี้ไม่ใช่หนทางในการดำเนินชีวิตอย่างสิ้นเชิง ภายใต้เมฆหมอกแห่งสงครามที่คุกคาม มนุษยชาติคือผู้ที่กำลังห้อยอยู่กับไม้กางเขนเหล็ก […]ไม่มีวิธีอื่น ๆ สำหรับการใช้ชีวิตในโลกนี้แล้วหรือ?”

Muhammad Yunus ผู้ได้รับรางวัลโนเบลปี 2006 ชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งและกล่าวว่า: “เราโชคดีที่เกิดในยุคแห่งความเป็นไปได้อันยิ่งใหญ่ – ยุคแห่งเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม ความมั่งคั่งที่ดีและศักยภาพของมนุษย์ที่ไม่มีขีดจำกัด ตอนนี้ วิธีแก้ปัญหาต่อปัญหาที่รุมเร้าโลกของเรา – ซึ่งรวมถึงปัญหา เช่น ความหิวโหย ความยากจนและโรคที่ได้ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติตั้งแต่ก่อนมีประวัติศาสตร์ – นั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

“แต่เทคโนโลยีเดียวกันซึ่งสามารถเปลี่ยนอารยธรรมมนุษย์ให้ดีขึ้นนี้ยังสามารถกำจัดเราทั้งหมดได้ นี่จึงทำให้เราต้องรวมตัวกันและถกเถียงในหัวข้อของการประชุมนี้ การสะสมและการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์สามารถส่งผลให้เกิดภัยพิบัติของมนุษย์ในสัดส่วนที่เราไม่สามารถจินตนาการได้ ได้เวลาแล้วที่เราจะร่วมมือกันในการหยุดการแข่งขันนี้ ในขณะที่เราอยากสร้างโลกที่ปราศจากความยากจน เราก็ต้องสร้างโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งสถานที่เดียวที่เราสามารถพบอาวุธนิวเคลียร์ได้คือในพิพิธภัณฑ์”

Alexei Arbatov อดีตสมาชิกของรัฐ Duma และรองประธานของคณะกรรมการกลาโหมแห่ง Duma ซึ่งตอนนี้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซียกล่าวโดยการพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า: “ไม่ว่าการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ในอดีตจะได้ช่วยโลกไว้ได้หรือไม่ก็ตาม – มันจะไม่มอบความมั่นใจเช่นนั้นในอนาคต อารยธรรมมนุษย์ซึ่งรักษาความมั่นคงของตนด้วยความสามารถในการกำจัดตัวเองในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงของสงครามนิวเคลียร์ไม่ควรค่าต่อคำว่า ‘อารยธรรม’ ถึงเวลาแล้วที่จะมองหาการรับประกันความเสี่ยงด้วยทางเลือกอื่น”

Izumi Nakamitsu ผู้แทนระดับสูงขององค์การอาวุธยุทโธปกรณ์แห่งสหประชาชาติ (UNODA) ได้เน้นย้ำถึงข้อสังเกตของเธอในวันที่ 10 พฤศจิกายน”ถึงบทบาทของการลดอาวุธและการไม่แพร่ขยายในฐานะเสาหลักทางการทูตที่เสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ”

การลดอาวุธนั้นเป็นหลักการสำคัญขององค์การสหประชาชาติ Nakamitsu กล่าวว่า มันสะท้อนให้เห็นได้ในกฎบัตรทั้งสองซึ่งเรียกร้องให้มี “การจัดตั้งและรักษาการสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศไว้โดยมีการปรับใช้อาวุธของทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจของโลกให้น้อยที่สุด” และต้องมีระบบในการควบคุมการสะสมอาวุธ อีกทั้งมติสมัชชาใหญ่แห่งชาติครั้งแรกซึ่งพยายามที่จะกำจัด “อาวุธปรมาณูและอาวุธอื่น ๆ ทั้งหมดที่สามารถปรับใช้เป็นการทำลายล้างสูงได้”

Hiromasa Ikeda รองประธานของ Soka Gakkai International (SGI) ซึ่งเป็นองค์กรพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียวได้กล่าวย้ำถึงข้อสังเกตของเขาในวันที่ 11 พฤศจิกายนถึงความจำเป็นที่ต้อง “ช่วยให้ผู้คนตื่นจากฝันร้าย” ของการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ ซึ่งประชากรของโลกนั้นได้ตกเป็นตัวประกันและ “สันติภาพ” ได้รับการรักษาไว้โดยสมดุลแห่งความหวาดกลัว

“เราจำเป็นต้องปลุกผู้คนจากฝันร้ายในปัจจุบันนี้ด้วยแสงสว่างแห่งแนวคิดใหม่ แนวคิด เช่น การลดอาวุธอย่างสิ้นเชิง ความมั่นคงของมนุษย์และการพัฒนามนุษย์ต่างระบุถึงการวางทิศทางของวิสัยทัศน์เช่นนั้น” Ikeda กล่าว

“ภายใต้ขอบเขตของการลดอาวุธ ความกังวลด้านมนุษยธรรมได้มอบทิศทางดังกล่าว สิ่งเหล่านี้ได้ช่วยนำเสนอมุมมองของมนุษย์ในการอภิปรายด้านความมั่นคง การอภิปรายด้านมนุษยธรรมนี้ได้นำไปสู่การยอมรับอย่างชัดเจนในประชาคมระหว่างประเทศว่าด้วยการไม่สามารถยอมรับอาวุธนิวเคลียร์ได้ และส่งผลให้เกิดการตระหนักถึงสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (TPNW)” เขากล่าวต่อ

“ภายใต้การอภิปรายด้านมนุษยธรรมนั้นคือการยืนยันว่าปัญหาอาวุธนิวเคลียร์นั้นจะไม่ใช่แค่ปัญหาด้านกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังมีแง่มุมด้านจริยธรรมและคุณธรรมอีกด้วย” Ikeda กล่าว

“ในที่นี้ บทบาทของขนบธรรมเนียมโลกนั้นเป็นที่น่าสังเกตมาก” Ikeda กล่าวและเสริมว่าสมเด็จพระสันตะปาปา Francis ได้แถลงต่อการประชุมเวียนนา 2014 และ การเจรจา TPNW ที่จัดขึ้นในนิวยอร์กในปีนี้ ซึ่งส่งผลเชิงบวกต่อการอภิปราย “ในส่วนนี้ SGI ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการริเริ่มโดยชุมชนผู้ศรัทธาที่มีความกังวลเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งได้ออกแถลงการณ์ร่วมแปดฉบับต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ การประชุมทบทวน NPT และการประชุมเจรจา TPNW โดยกระตุ้นให้มีการห้ามและการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์”

“คำนำของ TPNW ตระหนักถึงความพยายามที่กระทำโดยผู้นำทางศาสนา” Ikeda ชี้ให้เห็น “มีความเข้าใจที่ชัดเจนว่ามุมมองที่แสดงถึงความกังวลด้านจริยธรรมและคุณธรรมเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการสนทนาในหลายปีที่ผ่านมา”

Ikeda กล่าว: “ภายใน SGI เราได้มีการพิจารณาอย่างยั่งยืนถึงวิธีต่าง ๆ ที่จะส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างความร่วมมือกับประชาชนในวงกว้าง โดยเกี่ยวข้องกับการอภิปรายด้านการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ แนวคิดที่เราสร้างขึ้นนี้ได้รับการแสดงออกในวลีที่ว่า ‘ทุกสิ่งคือขุมทรัพย์'” [IDN-InDepthNews – 12 พฤศจิกายน 2017]

ภาพ: ภาพจากการประชุมในรัฐวาติกันเมื่อ 10-11 พฤศจิกายน 2017 เครดิต: Katsuhiro Asagiri | IDN-INPS

Most Popular