INPS Japan
HomeLanguageThaiการปล้นสะดมทรัพยากรแร่ทิ้งท้ายปัญหาด้านความยากจนแก่ชาวแอฟริกัน

การปล้นสะดมทรัพยากรแร่ทิ้งท้ายปัญหาด้านความยากจนแก่ชาวแอฟริกัน

โดย เจฟฟรีย์ โมโย (Jeffrey Moyo)

ฮาราเร (IDN) – กว่าทศวรรษที่ผ่านมา เขาสูญเสียบ้านเนื่องจากนักขุดเหมืองเพชรจากจีนเผามันเป็นจุณเพียงเพื่อค้นหาอัญมณี กระทั่งในปัจจุบันนี้  Tobias Mukwada อายุ 74 ปี ยังคงอาศัยอยู่กับครอบครัวของเขาในกระท่อมหลังคามุงจากโกโรโกโส พวกเขาสร้างขึ้นมาด้วยหวังเพียงว่า ในสักวันหนึ่งพ่อค้าเพชรจากจีนอาจจะจดจำพวกเขาได้และเสนอบ้านที่เหมาะสมให้กับพวกเขา

แต่สำหรับ Mukwada และครอบครัวของเขาที่ยากจนข้นแค้นนั้น นั่นอาจเป็นการรอคอยที่เปล่าประโยชน์

อดีตประธานาธิบดีของซิบบับเวได้สั่งการให้นักขุดเพชรของจีนออกไปจากพื้นที่ทำเหมืองแร่ในที่ราบสูงตะวันออกของประเทศในปี 2016

Mukwada บอกกับ IDN ว่า “ชาวจีนให้พวกเราย้ายออกจากบ้านของเราก่อนที่พวกเขาจะทำลายมันลงในขณะที่พวกเขาทำเหมืองเพชรและสัญญาว่าจะสร้างบ้านใหม่ให้กับเรา ซึ่งพวกเขาสร้างให้กับเพียงบางคนเท่านั้น พวกเขาทำกำไรจากเพชรของเขาได้อย่างรวดเร็ว และเรากลับเผชิญกับความยากจนเพิ่มมากขึ้นแทน”

Anjin เจ้าของชาวจีนถูกขับไล่ออกจากรัฐบาลซิมบับเวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2016 พร้อมกับเพชรของ Mbada บนพื้นที่ที่ใบอนุญาตพิเศษของพวกเขาหมดอายุลง ก่อนหน้านั้น ประธานาธิบดี Mugabe ได้กล่าวหาสองบริษัททำเหมืองในข้อหาการรั่วไหลและลักลอบนำอัญมณีออกจากประเทศแอฟริกาใต้

กระทั่งในปัจจุบันนี้ ภายใต้ผู้นำประเทศคนใหม่ Emmerson Mnangagwa ไม่มีการพักบริเวณที่มีเพชรอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศ เนื่องจากอีกหนึ่งโอกาสที่เปิดรออยู่สำหรับบริษัททำเหมืองเพชรของจีนอีกครั้งในปีนี้

เงินนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐสูญหายเนื่องจากการรั่วไหลเนื่องจากบริษัทต่างชาติได้รับการประเคนด้วยเพชรของประเทศแอฟริกาใต้ ในการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์เพื่อเป็นเครื่องหมายวันเกิดปีที่ 93 ของเขา อดีตประธานาธิบดี Mugabe ได้อ้างในปี 2016 ว่าประเทศได้สูญเสียจำนวนเงินจำนวน 15 พันล้านดอลลาร์จากรายได้การทำเหมืองเพชร

ในขณะที่การปล้นสะดมดังกล่าวเข้าดำเนินการ ชาวซิมบับเวจำนวนมากเช่น Mukwada กลับต้องเกลือกกลิ้งในความยากจน และแน่นอนว่าท่ามกลางกองอัญมณีมากมายมหาศาล

อย่างไรก็ตาม ชาวซิมบับเวเช่น Mukwada ไม่ได้เป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ต่อสู้กับความยากจนในขณะที่บริษัทต่างชาติตะครุบทรัพยากรเหมืองแร่ทั่วทั้งทวีปแอฟริกาที่เหลืออยู่

ในแซมเบีย นักธุรกิจใหญ่ที่ประกอบเหมืองทองแดง เช่น Anil Agarwal มหาเศรษฐีพันล้านชาวอินเดีย เจ้าของ Vedenta Resources Ltd ถูกกล่าวหาจากรัฐบาลเนื่องจากค้างชำระภาษีรัฐบาลนับล้านดอลลาร์ รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศของแซมเบีย Dora Siliya ได้แจ้งแก่ผู้รายงานในเดือนพฤษภาคมที่ลูซากา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ว่า “…บริษัทค้างชำระภาษีให้แก่ประเทศเป็นจำนวน 3.01 พันล้านควาชา”

กระนั้น เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านของตนในทางตอนใต้ของซิมบับเว แซมเบียยังคงต่อสู้กับปัญหาความยากจนอย่างรุนแรงในประเทศที่มีประชากรประมาณ 18 ล้านคน ตามที่ธนาคารโลกกล่าว มีชาวแซมเบีย 60 เปอร์เซ็นต์ที่ยากจน และมี 42 เปอร์เซ็นต์ที่ยากจนอย่างรุนแรงที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงินจำนวนน้อยกว่า 1.25 ดอลลาร์ต่อวัน

แซมเบียโอ้อวดถึงแหล่งทรัพยากรแร่อันอุดมสมบูรณ์ด้วยปริมาณทองแดงมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากต่างประเทศ ซึ่งคำนวณได้สูงถึง 6.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2017 โดยเป็นประเทศผู้ผลิตทองแดงที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองทั่วทั้งทวีปแอฟริกา และจากการสำรวจทางภูมิประเทศของสหรัฐอเมริกาในปี 2015 นั้นถือเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับแปดของโลก

อย่างไรก็ตาม ความสนใจของนักลงทุนต่างชาติและโครงการขนาดใหญ่เพื่อสกัดที่ครอบคลุมในแซมเบียมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยกับส่วนแบ่งของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน

นักเศรษฐศาสตร์ชาวแซมเบียตำหนิรัฐบาลของพวกเขาในการเป็นโบรกเกอร์ข้อตกลงการทำเหมืองแร่กับบริษัทต่างชาติที่แทบไม่กล้าคืนกำไรสู่ชุมชนที่พวกเขาขุดเหมืองมานานหลายปีเสียด้วยซ้ำ

David Mwansa นักเศรษฐศาสตร์อิสระในลูซากา บอกกับ IDN ว่า “รัฐมนตรีของรัฐบาลที่คอรัปชั่นได้รับสินบนมูลค่ากว่าหมื่นดอลลาร์ หากไม่นับจำนวนอีกหลายล้านก่อนที่พวกเขาจะอนุญาตให้บริษัททำเหมืองแร่ต่างชาติปล้นทรัพยากรของประเทศไปโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบถึงผลประโยชน์ต่อชุมชนยากจนที่เอื้อประโยชน์ ซึ่งถูกบริษัททำเหมืองต่างชาติปล้นแร่ธาตุไป”

ประเทศแอฟริกันเล็ก ๆ เช่น โมซัมบิกที่ต่อสู้กับปัญหาความยากจนมานานหลายปี ดูเหมือนจะมีช่วงการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นในทันทีทันใดจากประสบการณ์กับบริษัททำเหมืองต่างชาติ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เจ้าหน้าที่รัฐบาลของโมซัมบิกได้ออกมารับผิดชอบในการขับไล่บริษัททำเหมืองต่างชาติบางบริษัทออกไปจากประเทศหลังจากที่มีการกล่าวหาองค์กรในการกระตุ้นให้เกิดความยากจนและการทำลายสภาพแวดล้อมในประเทศ

Rodrigues Alberto ผู้ว่าการของมานิคาในโมซัมบิก ได้กล่าวในการประกาศการระงับกิจกรรมของบริษัททำเหมืองแร่ทองคำของจีนและแอฟริกาใต้ในทางชายฝั่งของประเทศแอฟริกาในเดือนพฤษภาคม 2019 ว่า: “เราจะดำเนินการอย่างไม่ประนีประนอมกับบริษัทเหล่านี้ หากพวกเขาไม่ได้เตรียมรับ เราก็จะต้องให้พวกเขาปิดการดำเนินการลง ทรัพยากรของเราไม่ควรต้องคำสาป”

ตามธนาคารโลกกล่าว ประชากรของโมซัมบิกเกือบ ๆ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นประมาณ 31 ล้านคนยังคงใช้ชีวิตอยู่อย่างยากจน

เมื่อปีที่ผ่านมา ธนาคารโลกรายงานในหัวข้อ การเปลี่ยนแปลงความมั่งคั่งของชาติ 2018  ได้เปิดเผยหลักฐานความยากจนของแอฟริกา เนื่องจากการสกัดแร่ น้ำมัน และแก๊สอย่างรุนแรงจากบริษัทต่างชาติ รายงานแสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนขนาดหนักด้านความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของแอฟริกาจากบริษัทข้ามชาติ

ตามจากรายงาน ‘นโยบายการพัฒนา’ แบบฉกชิงวิ่งราวของแอฟริกา มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติได้กลายเป็นสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์ไปเสียแล้ว: “โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ร่ำรวยด้านทรัพยากร บ่อยครั้งที่การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้รับการชดเชยจากการลงทุนอื่น ๆ”

กลับไปที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกที่มีประชากรประมาณ 87 ล้านคน ที่เป็นเหยื่อของบริษัททำเหมืองต่างชาติ หนึ่งในเขตของประเทศนั้นก็คือ เขตกาตังกา ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย รวมถึงแหล่งแร่ล้ำค่านานาชนิด เช่น เพชร ทองคำ และ แทนทาลัม

เขตกาตังกาเล็งเห็นความเจริญรุ่งเรืองในการทำเหมืองที่เด่นชัดในช่วงรอบศตวรรษ เมื่ออดีตประธานาธิบดีของประเทศ Laurent ต้องการ Kabila และภายหลังลูกชายของเขา Joseph ให้อนุญาตแก่บริษัททำเหมืองระหว่างประเทศในการใช้ประโยชน์จากขุมทรัพย์ของตน ในช่วงหลายปีนั้น การจัดการนี้ได้สร้างความร่ำรวยให้กับชนชั้นสูงชาวคองโกและผู้สำรวจแร่ธาตุอีกมากมาย แต่เสนอเพียงน้อยนิดให้กับประชาชนที่ถูกปล้นสะสมซึ่งยากจน

จากการสืบสวนของสหประชาชาติ การรัฐประหารของกาบีลา “ได้โอนความเป็นเจ้าของสินทรัพย์อย่างน้อย $5 พันล้านจากภาคส่วนการทำเหมืองแร่ของรัฐไปยังบริษัทเอกชนภายใต้การควบคุมของตน โดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชยหรือผลประโยชน์ให้แก่คลังของรัฐ” ตั้งแต่ช่วงปี 1999 ถึง 2002 

สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกจำนวนมาก เช่น Tresor Monide ทรัพยากรเหมืองแร่ของประเทศที่มีประชากรหนาแน่นได้ปลดปล่อยคำสาปแทนพรให้กับพลเมืองชาวคองโกแทน Monide ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอิสระที่อยู่ในกินชาซา บอกกับ IDN  ว่า “นักการเมืองได้รับสินบนเป็นจำนวนเงินนับล้านดอลลาร์ โดยการขายทรัพยากรแร่อันอุดมสมบูรณ์ของประเทศไปเพื่อแลกกับเพลงให้แก่บริษัททำเหมืองต่างชาติที่แทบไม่มีการจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลเลย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกนี้น่าสมเพชอย่างล้นเหลือ”

จากที่ผู้สื่อข่าวสืบสวน Tom Burgis ของ Financial Times “การผสมผสานระหว่างความมั่งคั่งแบบตุปัดตุเป๋ ความโหดร้ายจากการปล้นสะดม และความยากจนอย่างน่าสังเวชในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบที่ก่อให้เกิดการทำลายล้างทั่วทั้งแอฟริกา”

จากรายงาน 2016 จาก War on Want ชื่อเรื่อง ‘การล่าอาณานิยมใหม่: การช่วงชิงพลังงานและทรัพยากรแร่ของแอฟริกาของอังกฤษ’ แอฟริกากำลังเผชิญกับการรุกรานของการล่าอาณานิยมเพื่อทำลายล้างใหม่ที่ถูกกระตุ้นจากการทำลายล้างเพื่อจะปล้นสะดมทรัพยากรทางธรรมชาติของทวีป – โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานทางยุทธศาสตร์และทรัพยากรแร่ของตน

หนึ่งในกรณีศึกษาในรายงานก็คือการช่วงชิงแก๊สและน้ำมันในโมร็อกโก-ที่อยู่ในซาฮาราตะวันตก โมร็อกโกได้ถือครองซาฮาราตะวันตกนับตั้งแต่ปี 1795 โดยประชากรส่วนใหญ่ที่นั่นถูกขับไล่ด้วยกำลัง ผู้คนจำนวนมากไปยังค่ายในทะเลทรายอัลจีเรีย ที่ที่มีผู้อพยพนับ 165,000 อาศัยอยู่ที่นั่น

กรณีของผู้คนในซาฮาราตะวันตกเป็นเรื่องปกติของชาวแอฟริกันอื่น ๆ อีกมากมายที่ถูกเนรเทศไปยังที่อยู่อาศัยราวกับผู้บุกรุกในประเทศของพวกเขาเอง เนื่องจากคำสาปจากทรัพยากรแร่ที่ดึงดูดบริษัททำเหมืองต่างชาติที่จะไม่ปล่อยให้อะไรขวางทาง มีการกีดกันชาวแอฟริกันที่ยากจนจำนวนมาก เช่น Mukwada ในซิมบับเวให้ออกจากดินแดนของพวกเขา [IDN-InDepthNews – 21 มิถุนายน 2019]

ภาพ: บริษัทต่างชาติใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรแร่ของแอฟริกาโดยทิ้งหลุมขนาดใหญ่ไว้ให้ผู้คน ที่มา: วิกิมีเดีย คอมมอนส์ (Wikimedia Commons)

Most Popular