INPS Japan
HomeLanguageThai'สมาร์ทฟาร์ม' ทำการเกษตรไทยให้เพียงพอและยั่งยืน

‘สมาร์ทฟาร์ม’ ทำการเกษตรไทยให้เพียงพอและยั่งยืน

โดย Kalinga Seneviratne

จันทบุรี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย (idn) – เกษตรกรชาวไทยกำลังคืนสู่สามัญภายใต้สูตร “ไร่อัจฉริยะ” ที่ได้รับการสนับสนุนโดยเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ (ICT) ที่ผสานรวมเข้าไปในแนวคิด“เศรษฐกิจพอเพียง” ของศาสนาพุทธเพื่อทำให้โลหิตแห่งชีวิตของอาณาจักร คือเกษตรกรรมและเกษตรกรขนาดเล็ก ยั่งยืนไปสู่อนาคตอันใกล้

“เกษตรกรบางรายใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อให้ได้ผล [จากต้นไม้] มากขึ้น (แต่) ลำต้นมันจะตายภายในสามถึงห้าปี ที่นี่เราใช้ปุ๋ยอินทรีย์และลำต้นของเราอยู่ได้ถึง 30 ปีเลย” เกษตรกร สิทธิพงส์ ยานโส กล่าวกับ IDN ที่ไร่ทุเรียนสวนผสมที่เขียวชอุ่มของเขานี้

“เรามีใบไม้แห้งมากพอเป็นปุ๋ยของเรา” เขากล่าวเสริม โดยชี้ไปที่ภูเขาเขียวขจีที่รายล้อมพื้นที่เพาะปลูกของตน ขณะที่แสดงให้เห็นต้นกล้วยที่โตอยู่ระหว่างต้นทุเรียนของเขา เขาก็อธิบายว่าหลังเก็บเกี่ยวผลไม้จะมีการใช้ลำต้น ซึ่งเป็นเคล็ดที่ตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษ

พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนของสิทธิพงศ์ยังมีต้นกล้วย มะละกอ เงาะ องุ่น พริกไทย มะพร้าว และลำไย ซึ่งทำหน้าที่สร้างรายได้ให้เขาระหว่างฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียน เร็ว ๆ นี้เขาเพิ่งปลูกต้นกาแฟและมีพื้นที่เล็ก ๆ ของต้นยางซึ่งเสริมรายได้ให้เขา เขายังปลูกต้นไผ่ไว้บังลม และลำต้นไผ่สูง ๆ ยังเป็นวัสดุให้เขาใช้รองต้นกล้วย (เมื่อออกผล) และใช้สอยผลไม้ด้วย

“นี่เป็นสวนผลไม้ที่ช่างคิดมากค่ะ” ศาสตราจารย์กมลรัตน์ อินทรทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา (CCDKM) ให้เหตุผล องค์กรของศาสตราจารย์กมลรัตน์ได้ให้ความช่วยเหลือสิทธิพงศ์ในการนำ ICT มาใช้พัฒนาความรู้ทางเกษตรอินทรีย์และการตลาดของเขา

“ปรัชญาของ CCDKM ก็คือเราทำงานด้วยการผสนามรวมฐานแนวคิดและโมเดลหุ้นส่วน โดยทำงานร่วมกับคนชายขอบค่ะ” กมลรัตน์อธิบายหลังจากเป็นเพื่อน IDN ชมรอบไร่ “สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างโครงการที่สร้างรายได้… ชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายเล็ก ดังนั้นเราจึงมองหาว่าจะนำ ICT มาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำไร่อัจฉริยะในประเทศไทยได้อย่างไรค่ะ”

กมลรัตน์อธิบายต่อไปว่าเกษตรกรได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ทาง ICT และวิธีการเข้าถึงข้อมูล “หลังจากนั้นเราฝึกอบรมวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ (เพื่อให้ทราบ) ถึงราคาของผลิตภัณฑ์เกษตร และพวกเขาเข้าถึง [โมเดล] การตั้งราคาของไร่หลายแบบ … จากตลาดของรัฐบาล เอกชน และส่งออก หลังจากนั้นเกษตรกรสามารถตัดสินใจได้ว่าราคาที่ดีที่สุดสำหรับตนเองในการขายผลิตภัณฑ์คืออะไร”

“เราแสดงให้เห็นว่า ICT สามารถนำมาใช้กับระบบการทำไร่อินทรีย์ทางระบบนิเวศน์ได้อย่างไร … การทำไร่อัจฉริยะไม่ใช่เรื่องของ ICT เท่านั้นแต่เป็นเรื่องของกรอบความคิดและกระบวนการริเริ่มในการจัดการไร่ของพวกเขาด้วยค่ะ”

เมื่อปลายปี 2558 แรงงานราวร้อยละ 35 ของไทยอยู่ในเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรขนาดเล็กในชนบท เพื่อรักษาเกษตรกรในชนบทของประเทศไทยและทำให้การดำรงชีวิตของพวกเขายั่งยืน รัฐบาลไทยได้แนะนำโครงการมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาภายใต้ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเสนอขึ้นครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในปี 2541 เมื่อพระราชอาณาจักรประสบกับภัยร้ายแรงทางเศรษฐกิจ

แนวคิดนี้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมชาวพุทธอันลึกซึ้งของประเทศไทยเน้นที่ “ทางสายกลาง” คือความสำคัญของความสมดุล ทั้งความยั่งยืนและความพอเพียงต่างก็เป็นแก่นของปรัชญานี้ โดยมีการพัฒนามนุษย์เป็นเป้าหมายหลัก การแบ่งปัน (ความรู้และทรัพยากร) แทนที่จะแข่งขันและแสวงผลประโยชน์เป็นแง่มุมที่สำคัญของระบบนี้

รัฐบาลไทยจึงได้ผลักดันการจัดตั้งความร่วมมือของเกษตรกรเฉพาะพื้นที่โดยใช้ความคิดที่คล้ายคลึงกับปรัชญา “การจัดการความเสี่ยง” และ “ผู้ถือผลประโยชน์ร่วม” ในเศรษฐศาสตร์ตะวันตกซึ่งเข้ามามีความโดดเด่นในช่วง 1990s

เพื่อพัฒนาความยั่งยืนในการดำรงชีวิตของภาคชนบท รัฐบาลไทยได้วางมาตรการจำนวนมากภายใต้ปรัชญานี้ เช่นการให้กู้ยืมผ่านกองทุนหมู่บ้านและโครงการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อพัฒนาการดำรงชีวิตของผู้คนผ่านโครงการรากหญ้าประชารัฐ

หนึ่งในการรณรงค์ภายใต้แนวทางประชารัฐ (“รัฐของประชาชน”) ก็คือแผนการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยหอการค้าพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนามาตรฐาน “Thai GAP” ซึ่งเป็นระบบประกันพืชผักผลไม้ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ซึ่งพิจารณาถึงการจัดการคุณภาพที่ดิน ดิน เมล็ดพันธุ์ การจัดการน้ำ การใช้ปุ๋ย การจัดการศัตรูพืช ความปลอดภัยของผู้บริโภคและการป้องกันสิ่งแวดล้อม

ทันทีที่ได้รับการรับรองโดย Thai GAP ผู้ผลิตจะได้รับรหัส QR ของตนเองเพื่อให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน (ผู้บริโภค) สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ การริเริ่มนี้เป็นแนวทางในการยกระดับภาคเกษตรกรรมในยุคดิจิทัลซึ่งผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพสามารถเข้าถึงเกษตรกรได้โดยตรง

CCDKM ได้ทำงานร่วมกับ “เกษตรกรอัจฉริยะ” เพื่อให้ได้การรับรอง GAP นี้ และไร่ของสิทธิพงศ์ก็เป็นหนึ่งในไร่ที่ได้รับสถานะนี้ “สำหรับเกษตรกร (ที่ได้รับการรับรอง) GAP การผลิตจะไม่เพียงต่อกับความต้องการเนื่องจากตอนนี้คนกังวลเรื่องสุขภาพกันมาก” กมลรัตน์กล่าว อย่างไรก็ตาม “ทุเรียนและกล้วยในไร่แห่งนี้มีการสั่งซื้อล่วงหน้า … ขณะนี้สวนทุเรียนมีการจองล่วงหน้าสามเดือนแล้ว”

“สวนของเราพึ่งตัวเองได้อย่างมากค่ะ ตอนนี้มีความต้องการมากจนเราตอบสนองไม่หมดเลย” นริศรา ภรรยาของสิทธิพงศ์ยืนยัน เธออธิบายว่าความพอเพียงของไร่ได้มาจากการเพิ่มแรงงานในครัวเรือนสูงสุด ซึ่งรวมถึงลูกสาวและลูกเขยของตนด้วย

เธอยังเสริมว่าการใช้ ICT ช่วยครอบครัวให้ทำการตลาดผลผลิตของตนได้กำไรและราคาผลไม้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งซูเปอร์มาร์เก็ตที่ซื้อกล้วยในราคาพิเศษ “โดยพิจารณาว่าการรับรอง GAP บ่งชี้ว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณภาพระดับส่งออก”

สิทธิพงศ์บอก IDN ว่าตนสามารถรักษารายได้จากการเก็บเกี่ยวทุเรียน “ในธนาคาร” เนื่องจากตนได้รายได้สูงจากพืชผลอื่นเช่นกล้วย พริกไทย และมะพร้าวกระจายตลอดปี

ตอนนี้สิทธิพงศ์ได้กลายเป็นนักเผยแพร่ e-agriculture ในภูมิภาค โดยเปลี่ยนเกษตรกรคนอื่นให้หันมาสู่ปรัชญาการเกษตรอินทรีย์ที่พอเพียงและยั่งยืน เขาชี้ว่าแม้คุณจะซื้อปุ๋ยจากภายนอก ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีราคาหนึ่งในสามของปุ๋ยเคมี ทำให้เมื่อเกษตรกรคนอื่นมาเยี่ยมไร่ของเขาและเห็นวิถีชีวิตที่สบายของเขาก็เป็นเรื่องไม่ยากเลยในการเปลี่ยนความคิด

“นี่เป็นไร่นำร่องสำหรับบอกคนอื่นว่าแม้คุณจะมีทีมสามีภรรยา คุณก็ทำไร่ของตัวเองได้ค่ะ” กมลรัตน์กล่าว “สิ่งที่สำคัญก็คือการวางแผนพืชผลของคุณตลอดเวลา”

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยได้เริ่มกระจายปรัชญาการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงของตนไปยังต่างประเทศ เมื่อประเทศไทยได้เก้าอี้ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 77 ประเทศในเดือนมกราคม 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ดอน ปรมัตถ์วินัย บอกกับรัฐสมาชิกว่าโมเดลการจัดการไร่แบบองค์รวม “เศรษฐกิจพอเพียง” สามารถถูกนำมาใช้โดยรัฐส่วนใหญ่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ (SDGs) ได้ [IDN-InDepthNews – 28 มกราคม 2561]

* IDN ต้องการจะแสดงความรับทราบถึงความช่วยเหลือของศาสตราจารย์กมลรัตน์ อินทรทัศน์ และ CCDKM สำหรับการอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชม “ไร่อัจฉริยะ”

Most Popular