โดย Sudha Ramachandran
บังคาลอร์ (IDN) – ความต้องการของอินเดียในการเพิ่มความพยายามของตนเป็นสองเท่าเพื่อลดภาวะแคระแกร็นในกลุ่มเด็ก ๆ ไม่ได้เป็นเพียงเพราะการพัฒนาด้านจิตใจและทางกายภาพของพวกเขา แต่ยังเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้และโอกาสในชีวิต อีกทั้งเพื่อให้ทันการณ์ตามกำหนดเวลาปี 2022 ที่กำหนดโดยภารกิจโภชนาการแห่งชาติ (National Nutrition Mission) ของตนและเพื่อให้โลกได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ก่อนปี 2030 อีกด้วย
ตามระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของอินเดีย – ภาพที่ 3 และ 4 (NFHS-3 และ 4) สัดส่วนของเด็กในประเทศที่ต่ำกว่าอายุห้าปีที่มีภาวะแคระแกร็นลดลงจาก 48% ในปี 2006 เป็น 38% ในปี 2016 ในขณะที่การลดภายในระยะเวลาสิบปีนั้นมีนัยสำคัญ โดยการลดลงต่อปีอยู่ที่เพียง 1%
ไม่เพียงแต่นี่คืออัตราการลดที่ช้าที่สุดท่ามกลางกลุ่มเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใหม่เท่านั้น โดยที่อัตรานี้ เด็ก ๆ อินเดีย 31.4% จะแคระแกร็นลงภายในกำหนดเวลา 2022 จากการวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยด้านอาหารและโภชนาการของอินเดียปี 2019 ที่มีการเตรียมการรายงานโดยโครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ (UN World Food Programme) ที่ร่วมมือกับกระทรวงสถิติและการดำเนินโครงการของอินเดีย อินเดียควรลดภาวะแคระแกร็นลงอย่างน้อย 2% ต่อปีเพื่อบรรลุเป้าหมายภารกิจโภชนาการแห่งชาติ (National Nutrition Mission) ที่ 25% ในปี 2022
เจ้าหน้าที่ในกระทรวงสตรีและการพัฒนาเด็กของอินเดียบอกกับ IDN ว่าความแคระแกร็น (ความสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ) คืออาการของภาวะโภชนาการต่ำเรื้อรัง และอินเดียคือบ้านของเด็ก ๆ ที่มีภาวะแคระแกร็นที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเด็ก ๆ ราว 46.6 ล้านคนมีภาวะแคระแกร็น ดังนั้นแล้วความคืบหน้าในการจัดการกับความแคระแกร็นจะ “ส่งผลกระทบอย่างสำคัญ” ว่าชุมชนทั่วโลกจะสามารถดำเนินการเพื่อให้สำเร็จตามกำหนดเวลาภายในปี 2030 หรือไม่เพื่อบรรลุถึง SDG 2 ซึ่งมุ่งเน้นที่การยุติความหิวโหยและภาวการณ์ขาดสารอาหารในทุกรูปแบบ
มีการกล่าวว่าความแคระแกร็นและภาวะขาดโภชนาการต่ำรูปแบบอื่น ๆ เป็นส่วนของการเสียชีวิตในเด็กทั้งหมดเกือบครึ่งทั่วโลก ซึ่งเชื่อมโยงกับภาวะสมองที่ด้อยพัฒนา ส่งผลต่อความสามารถทางจิตใจและศักยภาพในการเรียนรู้ที่ลดลง รวมถึงประสิทธิภาพในการเรียนที่อยู่ในระดับต่ำ โดยทำให้บุคคลเกิดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
Shoba Suri นักวิชาการอาวุโสที่องค์กรริเริ่มด้านสุขภาพของมูลนิธิเพื่อการวิจัยผู้สังเกตการณ์ (Observer Research Foundation) ที่ตั้งอยู่ในนิวเดลีกล่าวว่า ความแคระแกร็นมี “ผลที่ตามตลอดชีวิต” มันขัดขวางไม่ให้เด็กได้ตระหนักถึงศักยภาพแบบเต็มที่ของเธอในการศึกษาและดังนั้นแล้วทิ้งเธอไว้กับ “โอกาสทางอาชีพที่เหลือเพียงน้อยนิด” ในชีวิตของเธอในภายหลัง ความแคระแกร็นส่งผลกระทบต่อความสามารถของบุคคลในการหาเลี้ยงชีพ มีการประมาณว่าเด็กที่มีภาวะแคระแกร็นจะได้รับน้อยกว่า 20% ในฐานะผู้ใหญ่เมื่อเปรียบเทียบแบบบุคคลที่มีสุขภาพดี
Suri กล่าวว่าความแคระแกร็นมีความเกี่ยวข้องที่อาจเกิดขึ้นได้สำหรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของอินเดียด้วยเช่นกัน จากการอ้างอิงการศึกษาของธนาคารโลก พบว่า “ความสูญเสียความสูงในผู้ใหญ่ 1% เนื่องจากภาวะแคระแกร็นในวัยเด็กเกี่ยวข้องกับความสูญเสียผลิตผลทางเศรษฐกิจ 1.4%”
เจ้าหน้าที่ภาครัฐกล่าวว่า จากการลดความแคระแกร็นของอินเดียจะทำให้สามารถ “พัฒนาผลิตภาพทางเศรษฐกิจ” ได้ โดยความสำเร็จในการป้องกันความแคระแกร็นจะกำหนดว่าชุมชนทั่วโลกจะสามารถบรรลุ SDG 8 ได้หรือไม่ ซึ่ง “มีเป้าหมายไม่ใช่เพียงการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เป็นความเติบโตที่รวมถึงกำหนดเวลาปี 2030 อีกด้วย” เธอกล่าวว่า ทั้งนี้เราไม่อาจบรรลุ SDG 8 ได้ ตราบเท่าที่ “ประชากรชาวอินเดียนับล้านยังคงมีภาวะแคระแกร็นและดังนั้นแล้วจึงไม่สามารถเข้าถึงอัตราการจ้างงานเต็มรูปแบบและมีผลิตผลได้”
มีการต่อสู้กับภาวะขาดสารอาหารเพื่อป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องเช่นความแคระแกร็นในกลุ่มเด็กที่รัฐบาลอินเดียได้นำเข้าสู่โครงการที่มุ่งเน้นที่โภชนาการสำหรับเด็ก สิ่งสำคัญที่สุดในประเด็นเหล่านี้คือการบริการเพื่อพัฒนาเด็กแบบบูรณาการ (ICDS) ซึ่งมีการเปิดตัวในปี 1975 โดยโครงการนี้มีเป้าหมายที่การพัฒนาโภชนาการและสุขภาพสำหรับเด็กโดยการมอบอาหารเสริมทางโภชนาการ การสร้างภูมิคุ้มกัน และการตรวจสุขภาพสำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 0-6 ปี
Suri กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ICDS ไม่สามารถเข้าถึงผลที่น่าพอใจได้ “การดำเนินการของโครงการที่ไม่ดี โดยขาดการตรวจสอบ ช่องว่างในความคุ้มครองผู้รับผลประโยชน์และทักษะที่เพียงพอของแรงงานในชุมชน” ที่อยู่ท่ามกลางเหตุผลสำหรับความล้มเหลวของ ICDS เพื่อลดความแคระแกร็นและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะขาดสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนั้น โครงการเพื่อช่วยเหลือด้านโภชนาการส่วนใหญ่ในอินเดียมุ่งเน้นที่ระยะเวลาหลังเกิด แต่โภชนาการและสุขภาพของสตรีที่ตั้งครรภ์ส่งผลต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ ดั้งนั้นแล้วจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่โครงการด้านโภชนาการควรมีเป้าหมายที่สตรีที่ตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน
เจ้าหน้าที่รัฐบาลกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ในขณะที่ความแคระแกร็นเชื่อมโยงกับโภชนาการโดยตรง การศึกษาชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่ปัจจัยอื่น ๆ เช่น สุขอนามัย สุขาภิบาล และการผลิตทางการเกษตรมีส่วนในการป้องกันด้านภาวะโภชนาการความแคระแกร็น ดังนั้นแล้วการป้องกันความแคระแกร็นไม่ควรเป็นข้อกังวลของเพียงกระทรวงสตรีและการพัฒนาเด็กเท่านั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลาย ๆ กระทรวงและหน่วยงาน รวมถึงผู้ที่รับผิดชอบในหน่วยงานด้านกลุ่มชนเผ่า น้ำและสุขาภิบาล การพัฒนาชนบท ฯลฯ ในการประสานงานร่วมกันเพื่อเร่งขั้นตอนในการลดความแคระแกร็นในประเทศ
ในปี 2017 รัฐบาลของอินเดียได้เปิดตัวโครงการที่ครอบคลุมของนายกรัฐมนตรีสำหรับ โภชนาการทางเลือก Abhiyaan (Holistic Nutrition (POSHAN) Abhiyaan) โดยเป้าหมายคือการกำหนดเพื่อลดความแคระแกร็น ภาวะพร่องโภชนาการ และน้ำหนักตัวแรกแต่ละคนเกิดต่ำ 2% และโรคเลือกจาง 3% ภายในปี 2022 โดย Suri กล่าวว่า มันจึง “ดูเหมือนเป็นคำสัญญา” เนื่องจากเป็นการ “เรียกร้องให้เกิดการประสานงานร่วมกันระหว่างหลายรัฐมนตรี”
อย่างไรก็ตาม โปรแกรมแห่งคำมั่นสัญญานี้กำลังถูกทำลายลงโดยความเพิกเฉยและการขาดการดำเนินการ กระทรวงสตรีและการพัฒนาเด็กได้มีการแจ้งกับรัฐสภาของอินเดียเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่ารัฐบาลแห่งรัฐหลาย ๆ แห่งไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเงินทุนที่มีการจัดสรรถึงพวกเขาเพื่อการการดำเนินการในโครงการของ Poshan Abhiyaan ในขณะที่ Bihar ซึ่งเป็นผู้ที่กล่าวว่าได้ใช้ประโยชน์เพียงหนึ่งในสี่ของเงินทุนที่มีการจัดสรรนั้น ๆ ระบุว่า เบงกอลตะวันตกและโอริสสาไม่ได้แม้แต่เริ่มดำเนินการในโครงการนี้เลย ขณะที่กัวและคาร์นาตากาได้ยังไม่ได้เริ่มต้นใช้เงินทุนของตนเพื่อต่อสู้กับภาวะขาดสารอาหาร
บรรณาธิการใน Deccan Herald กล่าว ” ไม่มีรัฐล้าหลังใดจากทั้งสี่รัฐที่สามารถเลี่ยงการใช้การดำเนินการโครงการ Poshan Abhiyaan ได้” เนื่องจากพวกเขาต่างมี “ระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร” ทั้งหมด โดยภาวะขาดสารอาหารโดยเฉลี่ยในเก้าเขตจาก 30 เขตของคาร์นาตากานั้นสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศ เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ของคาร์นาตากานั้นสูงเกือบเท่ากับระดับเฉลี่ยของประเทศ ในสถานการณ์ดังกล่าว ไม่มีข้ออ้างใดจากรัฐบาลของรัฐที่เสนอตัวทำงานในการแก้ไขแนวทางที่เมินเฉยของตนต่อการขาดสารอาหารที่สามารถยอมรับได้”
ตามที่ Suri ชี้แจง การทำงานของโครงการเพื่อพัฒนาโภชนาการในกลุ่มเด็ก ๆ ควรมุ่งเน้นที่ 1,000 วันของชีวิตเด็ก เนื่องจากในช่วงนี้ “คือช่วงกรอบโอกาสที่สำคัญ” นอกเหนือจากนั้น การเผยแพร่ความตระหนัก “เกี่ยวกับภาวะพร่องโภชนาการ การให้นมบุตร และเด็กทารกและเด็กที่จะเกิด”
[IDN-InDepthNews – 07 August 2019] สิ่งที่สำคัญก็คือหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินการต่อต่อสู้กับภาวะขาดสารอาหารและปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยลำพังได้ ภาคส่วนเอกชนและประชาสังคม เช่นเดียวกับสถานศึกษาจำเป็นต้องเข้าร่วมโดยการจัดลำดับความสำคัญของการรับประทานอาหารที่เปี่ยมด้วยโภชนาการ [IDN-InDepthNews – 07 สิงหาคม 2019]
ที่มาของภาพ: OpEd in The Hindu – เพื่อการปลอดภาวะขาดสารอาหารในอินเดีย (For a malnutrition-free India)