INPS Japan
HomeLanguageThaiหลุมลึกของความรวย-จนขยายกว้างขึ้น 5 ปีหลังการนำเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปรับใช้

หลุมลึกของความรวย-จนขยายกว้างขึ้น 5 ปีหลังการนำเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปรับใช้

โดย J Nastranis

นิวยอร์ก (IDN) – 2020 จะเป็นปีที่ถูกจดจำเนื่องจากเป็นปีที่การแพร่ระบาดของไวรัสได้ทำให้โลกต้องปิดตัวเอง ทำให้หลุมลึกระหว่างความรวยและความจนขยายกว้างมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดความยากจนขัดสนขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ และได้โต้กลับให้สหประชาชาติต้องพยายามสร้างสังคมที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันมากขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ได้รับการเห็นชอบอย่างเป็นสากลในเดือนกันยายน 2015

โดยในช่วงต้นเดือนธันวาคม สหประชาชาติได้เตือนว่ารายงานบันทึก 235 ล้านคนจะต้องการความช่วยเหลืออย่างมีมนุษยธรรมในปี 2021 ประกอบกับการเพิ่มขึ้นบางส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020 ซึ่งเกือบจะทั้งหมดเป็นผลจากการแพร่ระบาด

“ภาพที่เรานำเสนอนี้เป็นการนำเสนอในมุมมองที่มืดดำและสิ้นหวังที่สุดเกี่ยวกับความต้องการทางด้านมนุษยธรรมในช่วงเวลาข้างหน้านี้ที่เราได้เคยกำหนดกล่าวอ้างมา” นายมาร์ค โลว์ค็อก (Mark Lowcock) รองเลขาธิการสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหาด้านมนุษยธรรมและผู้ประสานงานการช่วยเหลือฉุกเฉินกล่าว

“นั่นเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโควิด (COVID) ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างทั่วทุกประเทศที่เปราะบางและอ่อนแอที่สุดบนโลกนี้”

นายโลว์ค็อก (Lowcock) ได้เตือนว่าระดับของความท้าทายที่กำลังจะเผชิญด้านมนุษยธรรมในปีหน้านั้นมีขนาดมหาศาล – และกำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น “หากเราสามารถผ่านปี 2021 ไปได้โดยไม่ต้องเผชิญภาวะข้าวยากหมากแพงขนาดใหญ่ได้นั่นถือเป็นการบรรลุผลสำเร็จที่มีนัยสำคัญ” เขากล่าว “ไฟแดงกำลังกระพริบ สัญญาณเตือนกำลังส่งเสียงร้อง สัญญาณต่าง ๆ กำลังส่งสัญญาณเตือน” 

ความก้าวหน้าในการลดความยากจนขัดสนของเด็ก ๆ ยังได้รับผลกระทบด้วยในปีนี้ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ  UNICEF และธนาคารโลกได้รายงานว่าเด็ก ๆ บางส่วนจำนวน 365 ล้านคนดำรงชีวิตในภาวะยากจนขัดสนก่อนจะมีการแพร่ระบาดขึ้น และมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมากอันเนื่องจากผลของภาวะวิกฤตนี้ เหตุการณ์นี้ได้ส่งผลต่อความพยายามในการลดความยากจนขัดสนของเด็ก ๆ

นี่เป็นการแสดงความหมายโดยนัยสำคัญ: ความยากจนขาดแคลนอย่างที่สุดจะทำให้เด็ก ๆ หลายร้อยล้านคนขาดโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่ศักยภาพที่แท้จริงของพวกเขา ทั้งในพัฒนาการด้านกายภาพและสติปัญญา และเป็นการคุกคามความสามารถที่จะได้ทำงานดี ๆ ในวัยผู้ใหญ่ของพวกเขา

“เพียงแค่ตัวเลขนี้อย่างเดียวอาจจะทำให้ใครต่อใครตกตะลึงได้” ซานเจย์ วิเจซิเกรา (Sanjay Wijesekera) ผู้อำนวยการโครงการ UNICEF กล่าว: “รัฐบาลจำเป็นต้องมีแผนฟื้นฟูเด็ก ๆ อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ และครอบครัวของพวกเขาอีกจำนวนมากนับไม่ถ้วนต้องเผชิญกับความยากจนขัดสนในระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในช่วงเวลาหลายปี”

นายอัคฮิม สไตน์เนอร์ (Achim Steiner) ผู้บริหารสูงสุดของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP ชี้ให้เห็น อีกด้านหนึ่งของสถานการณ์ว่า: “ผู้หญิงคือผู้ที่ต้องแบกรับปัญหาจากวิกฤต COVID-19   เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่พวกเธอจะสูญเสียแหล่งรายได้และมีความเป็นไปได้น้อยมากที่พวกเธอจะได้รับการชดเชยจากมาตรการการป้องกันทางสังคม” เขาได้อ้างถึงข้อมูลที่ได้มีการเผยแพร่ในช่วงเดือนกันยายน

เป็นการเผยให้เห็นว่าอัตราความยากจนขัดสนของผู้หญิงได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเก้าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าเท่ากับผู้หญิงจำนวน 47 ล้านคน: นี่เป็นการแสดงให้เห็นการถอยหลับไปในช่วงเวลาหลายทศวรรษของความก้าวหน้าของการขจัดปัญหาความยากจนอย่างที่สุดในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา

นางพัมซิล์ แมลัมโบงคุก้า (Phumzile Mlambo-Ngcuka) กรรมการบริหารขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของความยากจนขัดสนอย่างที่สุดของผู้หญิงเป็น “การฟ้องร้องของจุดบกพร่องเชิงลึกอย่างเต็มที่ตายตัว” ในแนวทางที่ได้มีการจัดโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจ

แต่อย่างไรก็ตามนาย สไตน์เนอร์ (Mr. Steiner) ได้กล่าวในส่วนนี้ว่ามีเครื่องมือสำหรับสร้างการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้หญิงอยู่มากมาย แม้แต่ในช่วงวิกฤตในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงและเด็กหญิงมากกว่า 100 ล้านคนจะสามารถยกระดับพ้นจากความยากจนขัดสนได้หากรัฐบาลจะปรับปรุงสิทธิ์ในการเข้าถึงการศึกษาและการวางแผนครอบครัวและทำให้มั่นใจว่าค่าจ้างมีความเป็นธรรมและเท่าเทียมกับที่มีให้กับผู้ชาย

รายงานสนับสนุนของ UN ในเดือนเมษายนได้เปิดเผยให้เห็นระดับความทุกข์ยากทั่วโลก รวมทั้งความยากจนและความหิวโหยทั่วโลกอยู่ในภาวะเลวร้ายมากขึ้น และประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตอาหารอยู่แล้วมีความเปราะบางต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ในระดับสูง

“เราต้องควบคุมดูแลให้ห่วงโซ่อาหารสำคัญยังคงดำเนินการอยู่ เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอาหารสำหรับการดำรงชีวิตได้” การศึกษาได้บอกว่า การเน้นย้ำความเร่งด่วนของการดำรงไว้ซึ่งการเสนอให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม “เพื่อให้ผู้คนในภาวะวิกฤตได้มีอาหารกินและมีชีวิตอยู่ได้”

จากการใช้บริการขนส่งสาธารณะเป็นศูนย์กลางกระจายอาหาร รูปแบบการนำส่งถึงบ้านแบบเก่า และตลาดแบบเคลื่อนที่ ชุมชนจำเป็นต้องหาวิธีการนวัตกรรมเพื่อเลี้ยงดูคนจนและผู้ที่เปราะบางในขณะที่รับมือกับข้อจำกัดของการเคลื่อนย้ายในช่วงวิกฤต COVID-19

เหล่านี้คือตัวอย่างทั้งหมดของวิธีการที่เมืองต่าง ๆ ในลาตินอเมริกา ได้รวบตัวกันเพื่อให้การสนับสนุนประชากรของตน และเพื่อสะท้อนให้เห็นคำเตือนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), ที่ว่าความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชากรในเมืองจำนวนมากอยู่ในระดับสูงในช่วงการระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยในชุมชนแออัดและผู้ที่อาศัยอยู่ในที่พักแบบไม่เป็นทางการอื่น ๆ จำนวน 1.2 พันล้านคน จดบันทึกโดย UN News

สำนักงานฝ่ายมุ่งเน้นแรงงานของสหประชาชาติ ILO ได้ประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่าผู้ที่ทำงานในภาคส่วนที่ไม่เป็นทางการจำนวนสองพันล้านคนเป็นผู้ที่สัมผัสกับการแพร่ระบาดโดยเฉพาะ ในเดือนมีนาคมทางสำนักงานได้ ติดตามผล ด้วยการวางแผนที่ได้เสนอแนะว่าคนจำนวนหลายล้านคนถูกผลักให้อยู่ในภาวะว่างงาน ทำงานไม่เต็มที่หรือทำงานในระดับต่ำ หรือการทำงานในภาวะขัดสนด้วยเงื่อนไขที่กดขี่

“สิ่งนี้จะไม่ใช่แค่เพียงวิฤตด้านสุขภาพอย่างเดียวเท่านั้นอีกต่อไปแล้ว แต่มันยังเป็นปัญหาวิกฤตของตลาดแรงงานและเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีกด้วยซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อผู้คน” นายกาย ไรเดอร์ (Guy Ryder) ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ILO กล่าว สำนักงานแรงงานได้ ประกาศ ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการบรรเทาความเสียหายต่อการครองชีพ ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองพนักงานในสถานที่ทำงาน เศรษฐกิจและแผนการกระตุ้นการจ้างงาน และการให้การช่วยเหลือด้านรายได้และงาน

ในขณะที่ COVID-19 ได้กวาดล้างทำลายผลประโยชน์จากการพัฒนาสำคัญในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น และด้วยการเพิ่มขึ้นอย่างสูงสุดของความยากจนขัดสนเป็นครั้งแรกในช่วงหลายทศวรรษ การแพร่ระบาดอาจจะจุดประกายให้เกิดความต้องการในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพื่อบรรลุผลของระบบการป้องกันสังคมที่เข้มแข็งขึ้น นายอังตอนียู กูแตรึช (António Guterres ) เลขาธิการแห่งสหประชาชาติได้กล่าวในเดือนธันวาคม

เขาได้พูดในงานระลึกครบรอบ 25 ปีของ การประชุมสุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ซึ่งเขาได้เรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างกล้าหาญและมีจินตนาการจากผู้นำต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบจากวิกฤตในระยะยาว

นายกูแตรึชได้โต้ว่า: “การแพร่ระบาดได้นำมาซึ่งความตระหนักถึงความเสี่ยงทางสังคมและเศรษฐกิจแบบใหม่ซึ่งเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากระบบการป้องกันสังคมที่มีไม่เพียงพอ สิทธิ์ในการเข้าถึงบริการสุขภาพและบริการสาธารณะอื่น ๆ ที่ไม่เท่าเทียมกันและความไม่เท่าเทียมกันในระดับสูง รวมทั้งความไม่เท่าเทียมกันด้านเพศ เชื้อชาติ และความไม่เท่าเทียมกันในรูปแบบอื่น ๆ ที่เราได้ประจักษ์ในโลกนี้”

เขาได้เสริมว่า: “ดังนั้นมันจึงอาจเป็นการเปิดประตูสู่ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพื่อสร้างสัญญาประชาคมแบบใหม่ในระดับชาติขึ้น ซึ่งมีความเหมาะสมกับความท้าทายของศตวรรษที่ 21”

การสะท้อนให้เห็นความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันที่ได้แสดงไว้ก่อนนี้หนึ่งปี ก่อนที่การแพร่ระบาดจะเกิดขึ้นในเวลาไม่นาน ประธาน UN ได้กล่าวว่าโลกเราต้องการมติข้อตกลงโลกใหม่ “ซึ่งเป็นมติข้อตกลงที่มีการแบ่งปันอำนาจ ทรัพยากรและโอกาสต่าง ๆ ดีขึ้นกว่าเดิมจากการลงมติตัดสินใจจากนานาประเทศและมีการบังคับใช้กลไกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของวันนี้ได้ดีขึ้น [IDN-InDepthNews – วันที่ 30 ธันวาคม 2020]

รูป: ตัวแทนโครงการอาหารโลก (WFP) ในโบลีเวียกำลังพูดคุยกับหญิงพื้นเมืองชาวอูรู-มูราโต เกี่ยวกับความตระหนักเกี่ยวกับ COVID-19 และหลักปฏิบัติเพื่อโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ เครดิต: WFP/Morelia Eróstegui

Most Popular