โดย J Natranis
นิวยอร์ก (IDN) – การแพร่ระบาดของโควิด -19 ได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ที่น่าหนักใจอย่างยิ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก Financing for Sustainable Development Report 2021 (รายงานการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2021) โดยหน่วยงานสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 60 หน่วยงานได้กล่าวว่าการแพร่ระบาดอาจทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ช้าไปอีก 10 ปี
เนื่องจากการระบาดใหญ่ เศรษฐกิจโลกประสบกับภาวะถดถอยครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 90 ปี ในทางกลับกัน สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เปราะบางที่สุดอย่างผิดสัดส่วนกับสังคมอื่น มีการสูญเสียงานประมาณ 114 ล้านตำแหน่งและอีกประมาณ 120 ล้านคนต้องตกอยู่ในภาวะยากจนข้นแค้น
“สิ่งที่การแพร่ระบาดครั้งนี้ได้พิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยคือเราเพิกเฉยต่อการพึ่งพาซึ่งกันและกันทั่วโลกซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อเราเอง ภัยพิบัติไม่จำกัดอยู่ที่ขอบเขตของชาติใด” กล่าวโดย Amina Mohammed รองเลขาธิการสหประชาชาติ “โลกที่แตกแยกเป็นหายนะสำหรับเราทุกคน เราควรจะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องในทางศีลธรรมและทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนทางเศรษฐกิจของทุกคน”
การตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ที่ไม่สม่ำเสมอเป็นอย่างมากนั้นได้ขยายความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และระหว่างประชาชน กองทุนกระตุ้นและฟื้นฟูมูลค่า 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐอันเป็นมูลค่าสูงในประวัติศาสตร์นั้นได้ช่วยป้องกันผลกระทบที่เลวร้ายที่สุด แต่ประเทศกำลังพัฒนามีกองทุนไม่ถึงร้อยละ 20 ของจำนวนเงินดังกล่าว รายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม แจ้งว่าภายในเดือนมกราคมปีนี้ ประเทศที่ผลิตวัคซีน (ทั้งหมดยกเว้น 9 จาก 38 ประเทศ) ต่างเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
นอกจากนี้ รายงานยังเสริมว่าเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดและประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่น ๆ ต่างมีความเสี่ยงสูงหรือตกอยู่ในภาวะหนี้สินก่อน COVID-19 เสียอีก และเนื่องจากรายได้จากภาษีที่ลดลง การระบาดของโรคได้ส่งผลให้ระดับหนี้เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นมาตรการต่อไปนี้จึงจำเป็นโดยไม่ควรล่าช้า:
- ปฏิเสธชาตินิยมด้านวัคซีนและเพิ่มการมีส่วนร่วมต่อ Access to COVID-19 Tools Accelerator เพื่อปิดช่องว่างการระดมทุนที่เหลือกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับปี 2021
- ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของ Official Development Assistance (ODA) ซึ่งอยู่ที่จำนวน 0.7% และจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่สำหรับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะ LDC
- หลีกเลี่ยงปัญหาหนี้โดยการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและการบรรเทาหนี้เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถต่อสู้กับ COVID-19 และผลเสียทางเศรษฐกิจและสังคมได้
“ช่องว่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศที่ยากจนนั้นเหมือนการเดินหลังลงคลอง ช่างน่าหนักใจและต้องมีการแก้ไขเส้นทางนี้โดยทันที” กล่าวโดย Liu Zhenmin เลขาธิการสหประชาชาติผู้ทำงานภายใต้เลขาธิการกระทรวงเศรษฐกิจและสังคมซึ่งจัดทำรายงาน
“ประเทศต่าง ๆ จะต้องได้รับความช่วยเหลือ ไม่เพียงแต่ในด้านเงินหมุนเวียนเท่านั้น แต่ต้องลงทุนในการพัฒนาของตนเองด้วย ในสร้างประเทศขึ้นมาให้ดีขึ้น ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องลงทุนในด้านต้นทุนมนุษย์ การคุ้มครองทางสังคม อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืน”
ตัวอย่างเช่น การลงทุนที่ยั่งยืนและชาญฉลาดในด้านโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยลดความเสี่ยงและทำให้โลกมีความยืดหยุ่นมากขึ้นต่อการสั่นคลอนในอนาคต การทำเช่นนี้จะเสริมสร้างการเติบโต มอบชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับคนนับล้าน และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวอย่างเช่น รายงานระบุว่าหากมีการลงทุนประมาณ 70-120 พันล้านเหรียญสหรัฐในอีก 2 ปีข้างหน้า และหลังจากนั้นอีกปีละ 20-40 พันล้านเหรียญสหรัฐ การทำเช่นนี้จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการระบาดใหญ่อีกครั้งได้เป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายล้านล้านดอลลาร์ที่เกิดจาก COVID-19
อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่มีงบประมาณทางการคลังสำหรับการลงทุนดังกล่าวเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
รายงานเสนอแนะว่ามันจะสร้างการเติบโต ให้ชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับคนนับล้านและต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การทำเช่นนี้จะเสริมสร้างการเติบโต มอบชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับคนนับล้าน และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างเช่น หากมีการลงทุนประมาณ 70-120 พันล้านเหรียญสหรัฐในอีก 2 ปีข้างหน้า และหลังจากนั้นอีกปีละ 20-40 พันล้านเหรียญสหรัฐ การทำเช่นนี้จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการระบาดใหญ่อีกครั้งได้เป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายล้านล้านดอลลาร์ที่เกิดจาก COVID-19 อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่มีงบประมาณทางการคลังสำหรับการลงทุนดังกล่าวเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
รายงานแนะนำวิธีจัดการกับความท้าทายนี้ ซึ่งรวมถึง:
- จัดหาเงินทุนระยะยาวพิเศษ [เช่น มากกว่า 50 ปี] ให้กับประเทศกำลังพัฒนาในอัตราดอกเบี้ยคงที่เพื่อใช้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในปัจจุบันเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา
- ใช้ธนาคารเพื่อการพัฒนาภาครัฐเป็นเครื่องมือในการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ปรับทิศทางตลาดทุนเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการขจัดสิ่งจูงใจระยะสั้นตามห่วงโซ่การลงทุนและลดความเสี่ยงจาก SDG-washing
รายงานยังเน้นย้ำอีกว่าการพัฒนาที่ไม่ได้รับข้อมูลด้านความเสี่ยงจะไม่ยั่งยืน และรายงานได้เสนอว่าการตอบสนองต่อวิกฤตเป็นโอกาสในการรีเซ็ตและ ‘พิสูจน์อนาคต’ ของระบบทั่วโลก
ในขณะที่ช่องว่างทางสถาปัตยกรรมการเงินระหว่างประเทศหรือนโยบายที่ไม่เพียงพอมักจะบ่อนทำลายการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนา แต่ในช่วงวิกฤต COVID-19 การป้องกันก่อนหน้าได้ช่วยให้บางระบบยังคงอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเงินและการธนาคาร โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการปฏิรูปหลังจากความล้มเหลวของธนาคารในปี 2008 บทเรียนที่ได้รับจากวิกฤตในวันนี้สามารถทำให้เกิดการปฏิรูปเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในอนาคตได้
รายงานยังแนะนำเพิ่มเติมให้:
- ค้นหาหนทางแก้ไขในระดับโลกสำหรับการจัดเก็บภาษีของเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อต่อสู้กับการหลีกเลี่ยงภาษีขององค์กร ลดการแข่งขันด้านภาษีที่เป็นอันตราย และใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับกระแสการเงินที่ผิดกฎหมาย
- สร้างกรอบการรายงานระดับโลกเพื่อให้บริษัทต่าง ๆ ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมและพิจารณาความเสี่ยงด้านสภาพอากาศไว้ในกฎระเบียบทางการเงินของตน
- ทบทวนกรอบการกำกับดูแล เช่น กฎระเบียบการต่อต้านการผูกขาดเพื่อลดอำนาจทางการตลาดของแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่
- ปรับปรุงตลาดแรงงานและนโยบายการคลังให้ทันสมัยเพื่อสะท้อนความเป็นจริงของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงโลกที่เดินหน้าไปสู่ความเป็นดิจิทัล
“ในการเปลี่ยนวิถีทาง เราจำเป็นต้องเปลี่ยนกฎของเกม” กล่าวโดย Amina Mohammed รองเลขาธิการสหประชาชาติ “การใช้กฎที่เหมือนกับตอนก่อนเกิดวิกฤตจะนำไปสู่ข้อผิดพลาดเดียวกันกับที่เราประสบในช่วงปีที่ผ่านมา” [IDN-InDepthNews – 01 เมษายน 2021]
ภาพ: ระบบอาหารในแอฟริกาได้รับผลกระทบทางลบจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้ง และ COVID-19 เมื่อล่าสุดนี้ © FAO/Petterik Wiggers.