หมู่บ้านในเนปาลใช้ไม้ไผ่ที่เติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อปกป้องพวกเขาจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อย
ปิงกิ ศรีรัณา ณ เมืองชิตวัน
วัฒนธรรมอันหลากหลายของเนปาลมีการใช้ต้นไผ่ในทุกพิธีกรรมทั้งหมดตั้งแต่วันที่เกิดยันวันตาย ต้นสารพัดประโยชน์นี้ยังใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องดนตรี ทำสิ่งพกพาสิ่งของ ทำเครื่องวาดเขียน หรือแม้แต่กระทั่งการกิน
ปัจจุบันได้มีการใช้สวนป่าไผ่เพื่อปกป้องหมู่บ้านใกล้อุทยานแห่งชาติจิตรวัน ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้งเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเสื่อมสลาย
ลำธารเล็กๆ ที่แห้งในฤดูหนาวนี่แหละ อันตรายมากที่สุดในช่วงมรสุม ดังนั้นเกษตรกรในหมู่บ้าน Madi จึงปลูกป่าไม้ไผ่ตามฝั่งของลำธารเพื่อกั้นน้ำท่วมและหยุดการกัดเซาะของดิน
“เมื่อฤดูฝนเริ่มขึ้นเราก็กลัวที่จะหลับตาในเวลากลางคืน” Shanti Chapai อายุ 58 ปีที่อาศัยอยู่ใกล้ลำธาร Patare Khola ที่แตกฝั่งในปีที่แล้วกล่าว
ในการมาเยือนที่ผ่านมา Patare Khola ดูเป็นเพียงลำธารเล็กๆ ยากที่จะจินตนาการว่ามันจะกลายเป็นแม่น้ำไหลเชี่ยวที่โหดร้ายในฤดูฝน ระเบิดริมฝั่งและคุกคามฟาร์มและถิ่นฐาน
แม้ว่าไม้ไผ่จะถูกใช้ในชีวิตประจำวันมาทำรั้ว เฟอร์นิเจอร์และพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ในตอนแรก เกษตรกรที่นี่คัดค้านแนวคิดที่จะใช้มันเพื่อควบคุมน้ำท่วม พวกเขาคิดว่าไผ่เป็นพืชพันธุ์รุกรานที่จะดูดน้ำใต้ดินทั้งหมด
แต่เวลา 15 ปีที่ผ่านมา สถาปนิกที่ ABARI (Adobe and Bamboo Research Institute) ได้ทำการทดลองกับสายพันธุ์ไม้ไผ่ที่มีหนามอย่าง Bambusa bluemeana และ Bambusa balcooa เพื่อฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมและควบคุมน้ำท่วม ปัจจุบันพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงนี้ของ Patare Khola ถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ไผ่หนาแน่นเขียวชอุ่ม
ตะกอนจากน้ำท่วมช่วงมรสุมที่แล้วสะสมอยู่ที่เชิงต้นไผ่ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าต้นไม้ไผ่เหล่านี้ช่วยรักษาตลิ่งให้มั่นคงและปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยรอบด้วยการลดความเร็วของน้ำท่วม
ชาวบ้านในหมู่บ้าน Madi เชื่อแล้วว่านี่เป็นวิธีแก้ปัญหาทางวิศวกรรมชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสำหรับน้ำท่วม ต้นไผ่ยังเป็นไม้พันธุ์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการกู้คืนฝั่งแม่น้ำที่ถูกกัดกร่อน ประเทศเนปาลมีไม้ไผ่มากกว่า 50 ชนิด ส่วนใหญ่พบได้ในที่ราบและเชิงเขาทางตะวันออกที่เปียกชื้นกว่า แต่บางสายพันธุ์ก็เติบโตที่ระดับความสูงถึง 4,000
“ไผ่เป็นพืชที่ถูกเข้าใจผิดในวัฒนธรรมของเรา เพราะถูกใช้สำหรับพิธีศพและมีความหมายเชิงลบ” Nripal Adhikary ABARI ซึ่งสร้างอาคารไม้ไผ่และดินรบในเนปาลกล่าว “จึงต้องใช้เวลาในการโน้มน้าวคนในท้องถิ่นเกี่ยวกับประโยชน์ของมัน”
ฤดูมรสุมในเนปาลมีความหมายเหมือนกับภัยพิบัติเสมอมา แต่เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ดินถล่มและน้ำท่วมเลวร้ายยิ่งขึ้น การก่อสร้างถนนที่ไม่ดี การขุดเหมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีละเอียดอ่อนอย่างไร้การควบคุม และการรุกล้ำบริเวณที่ราบน้ำท่วม ต่างก็เพิ่มความเสี่ยง
แต่ที่เมือง Madi ชาวบ้านต่างได้เห็นถึงประโยชน์โดยตรงของไม้ไผ่ในการป้องกันน้ำท่วมด้วยตาตนเอง ชาวนาชื่อ Phadendra Bhattarai กล่าวว่า “แม้ว่าจะมีฝนตกหนัก แต่ระดับความเสียหายจากน้ำท่วมมรสุมนี้ก็น้อยลงมาก ไม้ไผ่ทำหน้าที่เป็นด่านป้องกัน ไม่ปล่อยให้น้ำท่วมทำลายพืชผลของเรา”
สวนป่าไผ่ที่ผ่านการทดลองและทดสอบนี้สามารถทำซ้ำและขยายขนาดได้ทั่วประเทศเนปาล และเกษตรกรในคันจันปุระในที่ราบทางตะวันตกยังปลูกไม้ไผ่และหญ้าเนเปียร์ตามริมฝั่งแม่น้ำที่ปล่อยน้ำท่วมทำลายล้างในปี 2018
การปลูกไผ่เชิงกลยุทธ์ที่มีความหนาแน่นสูงสามารถทำเป็นรั้วแบบเขื่อนที่มีโครงสร้างคล้ายเม่น เพื่อปกป้องพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม
น้ำท่วมในเดือนกันยายนทางตอนกลางของเนปาลได้คร่าชีวิตผู้คนไป 224 ราย โดยทางตอนใต้ของ Lalitpur และ Kavre ได้รับผลกระทบหนักที่สุด หุบเขา Rosi ใน Karve ถูกทำลายล้างและการตั้งถิ่นฐานก็ถูกกวาดไปทั้งเนินเขา แต่พื้นที่ใกล้เคียงที่มีสวนป่าไผ่ยังคงสภาพสมบูรณ์ (ภาพด้านล่าง)
ในปี 2007 พื้นที่ครึ่งเฮกตาร์ของป่าชุมชน Dhaneswar Baikiya ใน Kavre ได้มีการปลูกไผ่โดยรัฐบาลภายใต้โครงการนำร่องเพื่อศึกษาและวิจัยต้นไผ่โมโซ Phyllostachys pubescens ผ่านมา 17 ปีแล้ว โดยที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมป่าไม้ของกระทรวงป่าไม้และสิ่งแวดล้อมได้ลืมเรื่องนี้มานานแล้ว
“แม้ว่าจะไม่มีการวิจัยใดๆ ที่นี่ โดยเฉพาะในแปลงนี้ แต่มันก็เป็นป่าไผ่ที่ช่วยชีวิตหมู่บ้านใต้ภูเขาจากการทำลายล้างครั้งใหญ่” Badri Adhikari ผู้ดูแลป่าชุมชนกล่าว “รากที่ขยายใหญ่และพันกันของพวกมันยึดดินไว้อย่างแน่นหนา ปกป้องความมั่นคงของเนินลาด”
แปลงนี้อาจถูกมองข้ามไป แต่ก็ยังมีความพยายามอย่างอื่น ทั้ง 12 อำเภอของจังหวัด Lumbini ได้ริเริ่มการรณรงค์ปลูกต้นไผ่เพื่อป้องกันการกัดเซาะและน้ำท่วม
ตามธรรมเนียมแล้ว ไม้ไผ่เชื่อกันว่าควบคุมดินถล่มได้ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นชาวบ้านตามภูเขาหันมาฟื้นฟูสวนไผ่ที่หมดสภาพเมื่อรู้เห็นถึงประโยชน์ของมัน นอกจากการป้องกันดินถล่มแล้ว ไม้ไผ่ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
Badri Adhikari กล่าวว่า “ต้นไผ่จะเติบโตสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อนและรากจะขยายใหญ่ขึ้นในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นฤดูหนาวจึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเตรียมพร้อมสำหรับน้ำท่วมที่สร้างความเสียหายในมรสุมหน้าที่จะเกิด”
บทความนี้นำเสนอโดย Nepali Times โดยความร่วมมือกับ INPS Japan และ Soka Gakkai International และสถานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาจาก UN ECOSOC